4종의 인플루엔자에 대한 백신

4종의 인플루엔자에 대한 백신

850 THB / 세트

정상가격 1,530 THB



 

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีอัตราตายสูงในหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  1. มีไข้สูง หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส

  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

  3. มีน้ำมูกและไอ

  4. อาจพบมีปอดบวม หรือภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
     

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดีอย่างไร

  1. ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ลดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรค

  2. ลดความสับสนในการตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อร่วมระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่กับโรคโควิด-19 ได้

  3. ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อนติดเชื้อโควิด-19 ยังช่วยลดการนอนโรงพยาบาล


 การฉีดวัคซีนป้องกัน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สูด ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโรค(WHO)และกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปเป็นประจำ ปีละ 1 ครั้ง สำหรับเด็กที่รับวัคซีนครั้งแรกอายุน้อยกว่า 9 ปี ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดปีละ 1 ครั้ง
 

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้
ไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วย การฉีดวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เดียวกันหรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่บรรจุในวัคซีน ภูมิคุ้มกันอยู่ได้ประมาณ 1 ปี จึงควรฉีดเป็นประจำทุกปี
 

โรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงวัยต่างจากในคนทั่วไปอย่างไร?
เป็นโรคที่ติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไปอาจจะทำให้เป็นไข้ ไอ หรือ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงต้องรักษาในโรงพยาบาล และจากข้อมูลในประเทศไทบพบว่ากลุ่มที่มีอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่ คือ เด็กเล็กและผู้สูงวัย
 

Q : ไข้หวัดใหญ่ ป้องกัน ได้หรือไม่?
A : โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้ดีขึ้น และลดอัตราการนอนโรงพยาบาล จากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากภาวะปอดอักเสบ และการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่ ได้อีกด้วย

 

 

 

 

 

โรคนิวโมคอคคัสคืออะไร
โรคนิวโมคอคคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรียชื่อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งส่งผลให้การเจ็บป่วยในส่วนต่างๆของร่างกายรวมถึงปอดอักเสบ หรือ การติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางเป็นต้นซึ่งเราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

อาการของโรคนิวโมคอคคัส
- หูชั้นกลางอักเสบ
- ไซนัสอักเสบ
- ปอดอักเสบ
- การติดเชื้อในกระแสเลือด
- ติดเชื้อบริเวณสมองและไขสันหลัง

วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัสในประเทศไทย
- Prevnar 13 ครอบคลุม 13 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคนิวโมคอคคัส
- Pneumovax 23 ครอบคลุม 23 สายพันธุ์ (1, 2, 3, 4, 5, 6B, 7F, 8, 9N, 9V, 10A, 11A, 12F, 14, 15B, 17F, 18C, 19F, 19A, 20, 22F, 23F, และ 33F) ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคนิวโมคอคคัสและครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคนิวโมคอคคัสชนิดรุกรานได้ 86.9-87.3%

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัสดังนี้:
สำหรับเด็กเป็นวัคซีนเสริมแนะนำระยะเวลาการฉีด 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และ 12-15 เดือน

ผู้ที่อายุ 19-64 ปี
     แนะนำฉีดในกลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง (เบาหวาน หัวใจวาย พิษสุราเรื้อรัง ม้ามทำงานผิดปกติ ปอดอัดกั้นเรื้อรัง หอบหืด และผู้ที่ใช้บุหรี่เป็นประจำทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า)  รวมถึงผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภาวะอื่น (น้ำไขสันหลังรั่ว ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ผู้ป่วยเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน)
- สำหรับกลุ่มโรคเรื้อรังแนะนำฉีด Prevnar 13 และฉีด Pneumovax 23 ห่างจากการฉีด Prevnar 13 อย่างน้อย 1 ปี
- สำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแนะนำฉีด Prevnar 13 และฉีด Pneumovax 23 ห่างจากฉีด Prevnar 13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้น Pneumovax 23 ห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 5 ปี

ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
- สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือปัจจัยเสี่ยง แนะนำให้ Prevnar 13 และฉีด Pneumovax 23 ห่างจากการฉีด Prevnar 13 อย่างน้อย 1 ปี
- สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและภูมิคุ้มกันบกพร่อง (น้ำไขสันหลังรั่ว ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ผู้ป่วยเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน) แนะนำฉีด Prevnar 13 และฉีด Pneumovax 23 ห่างจากฉีด Prevnar 13 อย่างน้อย 8 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้น Pneumovax 23 ห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 5 ปี

ผลข้างเคียง
- อาการของผลข้างเคียงสามารถหายเองได้ใน 2-3 วัน
- ปวดแดงบริเวณที่ฉีด
- อ่อนเพลีย
- ไข้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 

 

วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูมสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ดังนี้
- โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสหัดที่ติดต่อทางละอองฝอยส่งผลให้มีอาการมีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นแดงตามรางกายและอาจตามมาด้วยอาการชัก เนื่องจากมีไข้
- โรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูมติดต่อผ่านสารคัดหลั่งทางเดินหายใจอาจทำให้มีอาการมีไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ไม่อยากทานอาหาร ต่อมน้ำลายอักเสบ หรือ แก้มบวม
- โรคหัดเยอรมัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ มีอาการมีไข้ เจ็บคอ มีผื่น ปวดหัว และสามารถพัฒนามีต่อน้ำเหลืองโตหลังหูแบะลำคอ

ใครควรฉีดวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
- เด็ก 6-11 เดือนที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ
- ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ
- หญิงตั้งครรภ์ควรฉีดก่อน 28 สัปดาห์
- ผู้ที่ทำงานทางการแพทย์

การฉีดวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ควรฉีด 2 เข็ม
- เด็ก โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี
- ผู้ใหญ่ หากไม่เคยหรือไม่ทราบประวัติมาก่อน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน

อาการข้างเคียง
- ไข้
- ผื่น
- ปวดแดงบริเวณที่ฉีด

 

วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนสามารถช่วยป้องกันการเกิดได้ดังนี้
- คอตีบ โรคในระบบทางเดินหายใจติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากการติดเชื่อแบคทีเรียทำให้มีอาการอักเสบโดยเมื่อได้รับการติดต่อจะส่งผลให้เกิดอาการไอ จาม การตีบของทางเดินหายใจ และเสียชีวิต
- บาดทะยัก เป็นสารพิษจากแบคทีเรียที่มักพบในดินเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะปล่อยสารพิษมาส่งผลต่อระบบประสาทให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งตลอดเวลาโดยมักเริ่มเป็นที่ขากรรไกร
- ไอกรน เป็นปัญหาของระบบทางเดินหายใจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผู้ป่วยมักมีอาการไอมากและหากเป็นในเด็กอาจส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา
 

การฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- เด็กควรได้รับ 5 เข็ม ที่อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 ถึง 18 เดือน และ 4 ถึง 6 ปี
- หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ 1 เข็มในระหว่างการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27-36 

นอกจากเด็กแล้ว วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนเช่นเดียวกัน โดยมีคำแนะนำดังนี้

  1. ช่วงอายุ 11 - 18 ปี แนะนำให้ฉีด  ตอนอายุ 11 หรือ 12 ปี 

  2. ช่วงอายุ 19 - 64 ปี แนะนำให้ฉีดอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิต หลังจากนั้นฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน  ทุก 10 ปี

  3. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจฉีด กระตุ้นเพียง 1 เข็ม
     

ใครควรฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- เด็กที่อายุ 11 ปีขึ้นไปและไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน
- ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับวัคซีนหรือไม่
- หญิงตั้งครรภ์
- หญิงหลังคลอดที่ไม่มีประวัติเคยรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
 

อาการข้างเคียง
- บวมแดงบริเวณที่ฉีด
- ไข้สูงในบางราย

 

วัคซีนป้องกันงูสวัด

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด
- ผู้ที่เคยเป็นงูสวัด
- ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
- ผู้ที่ไม่แน่ใจประวัติการเป็นโรคอีสุกอีใส
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีหรือมากกว่า
- ผู้ที่อายุมากกว่า 19 ปีและมีประวัติเป็นภูมิคุ้มกันต่ำ
- หญิงตั้งครรภ์

การฉีด
- สำหรับในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรืออายุ 50 ปีหรือมากกว่า และผู้มี่อายุมากกว่า 19 ปีต้องฉีด 2 เข็มโดยห่างกัน 2-6 เดือน

อาการข้างเคียง
- มีไข้
- หนาวสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อ
- แดงบวมบริเวณที่ฉีด

 

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนโดยประกอบด้วยเชื้อไวรัสวาริเซลลาที่ถูกทำให้อ่อนแรงลง โดยเมื่อฉีดวัคซีน 2 เข็มจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันการเกิดโรคอีสุกอีใส

การรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
* ในช่วงอายุ 12-15 เดือน และ เข็มที่ 2 ช่วงอายุ 4-6 ปี
* ผู้ที่มีอายุมากกว่า 13 ปีรับเข็มที่ 1 ห่างจากเข็มที่ 2 ระยะเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
- เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
- ผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยง (ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ (ครูปฐมวัย, ผู้ดูแลเด็ก, นักท่องเที่ยว, ทหาร เป็นต้น)

อาการข้างเคียงวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
* ผื่นคล้ายอีสุกอีใส
* มีไข้
* แดงและบวมบริเวณที่ฉีด

 

  1. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

    • ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Center ) เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 16.00 น. โทร 033-038871 ,033-038888 ต่อ 30201-03  

    • Line SamitivejChonburi : Line ID ; @Dr.Samitchon คลิกลิงค์ https://lin.ee/aEJviRL