Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ชนิดแบบสมบูรณ์ นอนโรงพยาบาล 1 คืน (Sleep test type 1 : full-night) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (sleep related breathing disorder, SBD) และโรคที่มีความผิดปกติในขณะหลับ อื่นๆ (sleep disorder) โดยมีการตรวจแบบทั้งคืน

14,588 บาท / ชุด

ราคาปกติ 16,000 บาท


การนอนเป็นสิ่งสำคัญ นอนดีทุกวันสุขภาพแข็งแรง

ใครมีปัญหานอนไม่หลับ รู้สึกเหมือนร่างกายต้องการที่นอน ตลอดเวลา
นอนกรนเสียงดัง สะดุ้งตื่น ตื่นมาไม่สดชื่น อย่าปล่อยให้เรื้อรัง

 

 

นอนกรน เป็นเรื่องธรรมดา จริงหรอ?  
หลายคนรู้จักและคุ้นเคยดีกับการกรน อาจเป็นตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด ที่เราพบว่าได้บ่อยๆว่ามีการกรนขณะหลับ จนพูดกันว่า “กรนธรรมดา”  แต่จริงแล้ว เมื่อไรก็ตามที่กรน นั่นละไม่ธรรมดา เพียงแค่เป็นอาการที่พบได้บ่อย จนความไม่ธรรมดาถูกมองข้ามไป เพราะใครจะเชื่อว่านอนกรนเป็นอาการแสดงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
การกรน (snoring) เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบ เนื่องจากขณะหลับ กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดทางเดินหายใจส่วนต้นจะ หย่อนตัว หรือแม้แต่ลิ้น ลิ้นไก่ ก็มักตกไปด้านหลังของช่องปาก ทั้งหมดจึงทําให้ช่องทางเดินหายใจในคอตีบ ดังนั้น เมื่อหายใจ ผ่านช่องคอที่แคบ จึงทําให้เกิดเป็นเสียงกรน 

 

 


อาการเช่นไรบ้าง ที่ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการนอนหลับ

  1. อาการนอนกรน มีอาการหยุดหายใจขณะนอน (Obstructive sleep apnea)

  2. เมื่อตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดมึนศีรษะ หรือมีอาการปากแห้งคอแห้งผิดปกติ

  3. อาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน (Excessive daytime sleepiness)

  4. มีอาการนอนละเมอ ขยับแขนขาผิดปกติ หรือออกเสียงในช่วงการนอน (REM sleep behavior disorder, RBD)

  5. มีภาวะพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ (Parasomnias) เช่นลุกเดินจากที่นอนขณะหลับ หรือมีอาการขยับผิดปกติอื่น ๆ หรือสงสัยมีอาการชักขณะนอนหลับ (Nocturnal epilepsy)

  6. มีอาการขากระตุก ทั้งขณะเข้านอนหรือขณะหลับไปแล้ว (Periodic limb movement disorder, PLMS)

  7. มีอาการขาอยู่ไม่สุข ต้องขยับหรือลุกขึ้นเดินในช่วงก่อนเข้านอนหรือช่วงค่ำ (Restless legs syndrome)

  8. มีอาการนอนกัดฟัน (Bruxism)

  9. มีปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia)

  10. มีปัญหาการหลับตื่นที่ผิดปกติ (Circadian rhythm sleep wake disorders)

  11. มีปัญหาหลับกะทันหัน ในช่วงเวลากลางวัน (โรคลมหลับ) (Narcolepsy)

 

 

Promotion ตรวจคุณภาพการนอนหลับ Sleep Test
วิเคราะห์ผลการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ

 

 

ตรวจ Sleep test วัดอะไรได้บ้างระหว่างหลับ

การตรวจ sleep test จะมีการติดอุปกรณ์ ที่ใช้ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายระหว่างหลับ 

ได้แก่

1. คลื่นไฟฟ้าสมอง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของลูกตา: บอกความตื้นลึก หรือระยะของการนอนหลับ และแยกจากภาวะตื่น

2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : บอกว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ในช่วงที่หยุดหายใจ

3. ลมหายใจผ่านเข้าออกจมูกปาก และการเคลื่อนไหวของทรวงอกกับท้อง : ช่วยแยกระหว่างการหายใจที่ปกติ และการหยุดหายใจ รวมทั้งบอกชนิดของการหยุดหายใจ

4. ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด : บอกความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด

 

ชนิดตรวจที่บ้าน Watch-PAT

เป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับจากสัญญาณชีพจรหลอดเลือดแดงที่ปลายนิ้วมือ และข้อมือ ลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือขนาดใหญ่ โดยจะวัดค่าที่จำเป็นที่ใช้ในการรักษา ได้แก่

- ระยะการนอนหลับได้

- ดัชนีการหายใจถูกรบกวน (RDI)

- ดัชนีการหยุด หายใจและหายใจแผ่ว (AHI)

- ระดับออกซิเจนในเลือด

​ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันพบว่า การตรวจด้วย Watch-PAT นั้นมีความแม่นยำในการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงใกลเคียงกับการตรวจการนอนหลับชนิดที่1แต่สะดวกกว่า โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านและไม่ต้องมีพยาบาลคอยเฝ้าขณะทำการตรวจทำให้ผู้ป่วยคุ้นชินกับสถานที่ จึงลดการคลาดเคลื่อนของผลการตรวจ

 

การตรวจการนอนหลับชนิดที่ 1 แบบสมบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดทั้งคืน 

เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงสุด

 

1. ชนิดแบบสมบูรณ์ นอนโรงพยาบาล 1 คืน (Sleep test type 1 : full-night) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (sleep related breathing disorder, SBD) และโรคที่มีความผิดปกติในขณะหลับ อื่นๆ (sleep disorder) โดยมีการตรวจแบบทั้งคืน

 

2. ชนิดแบบสมบูรณ์ ร่วมกับการทดสอบการ ใส่เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) (Sleep test type 1:split-night) นอนโรงพยาบาล 1 คืน เป็นรูปแบบการตรวจที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน มีวิธีการคือ จะแบ่งการตรวจเป็น 2 ส่วนภายในการตรวจเพียงคืนเดียว ซึ่งครึ่งคืนแรกจะเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับการนอนหลับใน ขณะที่ครึ่งคืนหลังจะใช้ในการรักษาและปรับตั้งเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP titration)

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
ตลินิกการนอนหลับ แผนก ตา หู คอ จมูก รพ.สมิติเวช ชลบุรี ชั้น 2 อาคาร B หรือ โทร.033-038-911

Line : @dr.samitchon คลิกลิงค์ https://bit.ly/SCHLine (นัดหมาย/ปรึกษา)





แพ็กเกจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง