ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

(ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ) ผู้เขียนบทความ : แพทย์หญิง ทิวาพร ธรรมมงคล

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และการเตรียมตัวก่อนมารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่"
มะเร็งสำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกของเมืองไทยและมีอัตราการพบสูงขึ้นเรื่อยๆ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักเริ่มต้นจากติ่งเนื้อเล็ก ๆ ที่งอกขึ้นที่ผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการกลายตัวของติ่งเนื้องอกเป็นมะร็งลำไส้ไหญ่ในที่สุด ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารกป้องกันได้ โดยการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ การตรวจรักษาระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ก็เหมือนตรวจสุขภาพลำไส้ เป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยากมากสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและผู้ป่วยก็ได้ประโยชน์อย่างมาก

ใครบ้างที่ควรตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่?
1. การขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
2. อุจจาระมีเลือดปน อาจมีสีแดงสดหรือสีคล้ำ หรือตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ
3. มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออกระหว่างถ่ายอุจจาระ
4. มีอาการแน่น อึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
5. มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
6. ผู้ป่วยลำไส้อักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กที่ไม่มีสาเหตุอื่น
7. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจส่องกล้องเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้ไม่มีอาการ

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คืออะไร?
การสอดท่อที่มีกล้องขนาดเล็กติดส่วนปลายเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและลำไส้เล็กส่วนปลาย เมื่อตรวจพบความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อก้อนเนื้อ แผลกระเปาะในลำไส้ จุดเลือดออกจะสามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันที เช่น การตัดติ่งเนื้อลำไส้ผ่านการส่องกล้อง ตัดชิ้นเนื้อเพื่อมาตรวจวินิจฉัย และหยุดเลือดออกทางเดินอาหาร เป็นต้น

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ น่ากลัวหรือไม่?
ด้วยปัจจัยเทคโนโลยีกล้องปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก กล่องมีความทันสมัยความยึดหยุ่นสูง รวมถึงความชำนาญของเพทย์ผู้ส่องกล้องทำให้กาวะเทรกซ่อนน้อยมาก ใช้ระยะเวลาทำ 30-60 นาที ระหว่างทำการส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับยานอนหลับ

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่?

ต้องมีการเตรียมลำไส้ให้สะอาด เพื่อไม่ให้มีเศษอุจจาระมาปิดบังความผิดปกติ นับเป็นหัวใจสำคัญของการส่องกล้องเลยก็ว่าได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยและลดภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง
การเตรียมตัวสำหรับส่องกล้องลำไส้ใหญ่ปฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมลำไส้ ดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงผัก ผลไม้และอาหารกากใยสูงก่อนวันตรวจอย่างน้อย 2 วัน
2. เริ่มรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย อย่างน้อย 1 วัน เช่น เนื้อปลา ไข่ เนื้อปู เต้าหู้ โจ๊ก ข้าวต้ม ขนมปังสีขาว
3.การรับประทานยาระบายเพื่อเตรียมลำไส้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบายเพื่อเตรียมลำไส้ให้สะอาดเวลา
ในการทานยาระบายขึ้นกับว่าผู้ป่วยส่องกล้องในช่วงเวลาใด
- หากส่องกล้องช่วงเช้า: ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาระบายในช่วงเย็น 1 วันก่อนเข้ารับการตรวจ อาจให้
รับประทานเพิ่มเติมอีกในช่วงเช้าตรู่ของวันส่องกล้อง
-หากส่องกล้องช่วงบ่าย: ผู้ป่วยสามารถมารับประทานยาระบายที่ รพ. หรือที่บ้านในช่วงเช้า ให้อุจจาระใส
ประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้องในวันเดียวกัน
4.งดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวานใส ๆ ได้ก่อน 2 ชั่วโมงก่อนเข้า
รับการตรวจ
5.งดยาละลายลิ่มเลือด 3-7 วัน (ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของยาที่รับประทาน) หรือตามแพทย์สั่ง

ลำไส้ที่สะอาดพร้อมตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นอย่างไร?
ลำไส้ที่สะอาดพร้อมตรวจ คือลำไส้ที่เมื่อก่ายอุจจาระครั้งสุดท้าย เหลืองใส ไม่มีกาก/ศษอาหารปนในอุจจาระโดยแนะนำให้ผู้รับการตรวจถ่ายรูปในสุขภัณฑ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยประเมินความสะอาดของ
การเตรียมลำไส้ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่เจ็บปวดหรือไม่?
ขณะทำการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะไม่เจ็บและหลับ เนื่องจากก่อนการส่องกล้อง โดยส่วนใหญ่จะได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ ที่ออกฤทธิ์ชั่วคราวเหมือนนอนหลับลึกนิดหน่อยไม่ถึงขั้นยาสลบ
แต่ถ้าผู้ป่วยที่ มีโรคประจำตัวอาจต้องดูแลโดยวิสัญญีแพทย์

หลังส่องกล้องต้องพักฟื้นนานหรือไม่?
หลังส่องกล้องผู้ป่วยอาจมีอาการอึดแน่นท้องได้เล็กน้อย อาจจะมีอาการง่วงได้จากฤทธิ์ยานอนหลับ จะให้ผู้ป่วยนอนสังเกตอาการ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นสามารถกลับบ้านพักผ่อนได้ หากผู้ป่วย ขับรถเองอาจไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผู้เข้ารับการตรวจควรมีญาติหรือผู้ติดตามที่ขับรถได้มาด้วย

หลังส่องกล้องทราบผลเลยหรือไม่?
หากตรวจพบความผิดปกติแพทย์จะสามารถแจ้งผลการตรวจเบื้องต้นได้เลยจากผลการส่องกล้อง การตัดติ่งเนื้อหรือ ชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิใช้เวลารอผลประมาณ 7 วัน

การปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง?
1.ผู้ป่วยสามารถรับประทานน้ำและอาหารอ่อนย่อยง่ายได้ทันทีหลังส่องกล้อง วันรุ่งขึ้นผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันทำงานได้ตามปกติ
2.ให้ผู้ป่วยสังเกตลักษณะอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย หากมีเลือดปนออกมามากผิดปกติ ควรรีบติดต่อโรงพยาบาลและเข้ามาพบแพทย์ทันที
3.เนื่องจากต้องให้ยานอนหลับ แนะนำให้ผู้ป่วยงดขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 24 ชั่วโมงหลังการส่องกล้อง
4.หลังการตรวจหากมีอาการปวดท้องมาก ท้องเข็ง ท้องโตขึ้น มีไข้สูง หน้ามืด หมดสติ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
5.โดยส่วนมากผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับการตัดติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงต่อ
การเกิดเลือดออกหลังตัดติ่งเนื้อสูงแนะนำให้ผู้ป่วยนอนสังเกตอาการที่ รพ. 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นส่วนน้อย

จัดทำโดย พญ.ทิวาพร ธรรมมงคง
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ


 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
แพทย์หญิง ทิวาพร ธรรมมงคล  อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ

☎️  สอบถามนัดหมาย ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โทร 033-038959

 

⭐ ปรึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารสุขภาพ ได้ที่
----------------------------------
> Line : @dr.samitchon หรือ https://lin.ee/aEJviRL
> Social Media : https://linktr.ee/samitivejchonburi





doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด