แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร . . . ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร

(ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ) ผู้เขียนบทความ : นายแพทย์ ปารินทร์ ศิริวัฒน์

แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร . . . ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร

เอชไพโลไร (H pylori) 

เอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคที่เรียแกรมลบ ถูกพบบนพื้นผิวของกระเพาะอาหารครั้งแรกเมื่อปี คศ.1984  

โดย Barry J. Marshall and Robin Warren นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย   ปัจจุบันพบว่า มากกว่า 50% ของประชากรโลกมีการติดเชื้อเอชไพโลไร  ซึ่งติดต่อผ่านทางน้ำลายและการกินอาหารร่วมกันโดยไม่ใช้ช้อนกลาง 

การติดเชื้อเอชไพโลไรจะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก      นำไปสู่การเกิดอาการไม่สบายท้อง มีอาการปวดท้อง อืดแน่นท้อง และก่อให้เกิดโรคในกระเพาะอาหารมากมาย เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร 

การวินิจฉัยการและการรักษา 

การวินิจฉัยทำได้หลายวิธี ได้แก่  

1.การ ส่องกล้องในกระเพาะอาหาร (EGD) เพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ 

2.การตรวจลมหายใจ (UBT) 

3.การตรวจการติดเชื้อในอุจจาระ ( Stool H.pylori Antigen ) 

แต่วิธีที่เป็นมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยคือ การส่องกล้องเพื่อเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ ในกระเพาะอาหารมาตรวจ  

โดยวิธีการส่องกล้องในกระเพาะอาหารนั้นทำได้ไม่ยุ่งยาก เมื่อทำเสร็จแล้วพักสังเกตอาการเพียงครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงก็สามารถกลับบ้านได้ การส่องกล้องทางกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องนั้นนอกจาก จะตรวจเรื่องของการติดเชื้อเอชไพโลไรแล้วยังสามารถตรวจว่ามีแผลในกระเพาะอาหารหรือมีมะเร็งกระเพาะอาหารหรือไม่  

ปัจจุบันนี้ทางสมาคมโรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ผู้ป่วยอายุเกิน 50 ปี ที่มีอาการปวดท้องเกิดขึ้นใหม่ ควรได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนทุกราย หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อ เอช.ไพโลไรจะได้รับการรักษาโดย การให้ยายับยั้งการหลั่งกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะ เมื่อได้รับการรักษาควรกลับมาตรวจยืนยันการติดเชื้อว่าได้หายขาดแล้ว 

สําหรับผู้ที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร หรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรตรวจหาความเสี่ยง หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายต่อไป 

นายแพทย์   ปารินทร์  ศิริวัฒน์

นายแพทย์ ปารินทร์ ศิริวัฒน์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมระบบโรคทางเดินอาหารและตับ 





doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด