การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ

(ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ) ผู้เขียนบทความ : นายแพทย์ ปารินทร์ ศิริวัฒน์

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ จำเป็นหรือไม่ จำเป็นสำหรับใคร

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีหลายแบบ แต่การส่องกล้องที่เราพูดถึงกันบ่อยๆมักมีอยู่ 2 แบบ คือ 1.EGD หรือการส่องกล้องกระเพาะอาหาร 2.Colonoscope หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่                        บางคนไม่เข้าใจนึกว่าส่องกล้องก็คือส่องทีเดียวจากบนลงล่างซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ การส่องกระเพาะอาหาร คือการส่องกล้องขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตรเข้าไปทางปากผ่านกระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือการส่องจากทวารหนักหรือว่าก้นเข้าไปถึงบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย

        วิธีการเตรียมตัวของการส่องกล้องกระเพาะอาหารและการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ก็แตกต่างกัน

                      การส่องกล้องกระเพาะอาหารทำได้ง่าย เพียงแค่งดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม ก่อนมาส่องกล้องก็สามารถทำได้ ในขณะที่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ต้องมีการเตรียมลำไส้ คือการกินยาถ่ายและถ่ายจนอุจจาระมีลักษณะใสหรือที่เราเรียกกันว่า การล้างลำไส้ นั่นเอง

การส่องกล้องจำเป็นหรือไม่                       ต้องบอกว่าการตรวจร่างกายของแพทย์จากภายนอกโดยการคลำหน้าท้อง ไม่สามารถบอกรายละเอียดต่างๆของการพยาธิสภาพในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้ การส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่จึงจำเป็นและเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคหรือพยาธิสภาพในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องจำเป็นสำหรับใคร การส่องกล้องกระเพาะอาหารจำเป็นสำหรับคนที่มีอาการ 1.ปวดแสบท้องครั้งแรกตอนอายุมากกว่า 50 ปี 2.มีสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเช่น อาการน้ำหนักลด มีถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ 3.ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยา 4.ปวดแสบท้องและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จำเป็นสำหรับคนที่มีอาการ 1.ท้องผูกสลับท้องเสีย 2.ถ่ายมีเลือดปนหรือถ่ายมีมูกเลือด 3.ถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆเม็ดกระต่ายหรือว่าถ่ายยาก 4.ปวดเบ่งเวลาถ่าย 5.อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุมาก 6. อาจคลำก้อนได้ในท้อง ดังนั้นหากเรามีอาการผิดปกติข้างต้นควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาถึงเรื่องการส่องกล้องต่อไป นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.สมิติเวชชลบุรี

  ► ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือ โทร 096-9173851





doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด