โรคกระดูกพรุน : สาเหตุ อาการ และการรักษา

(ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ) ผู้เขียนบทความ : ผู้ดูแล

โรคกระดูกพรุน : สาเหตุ อาการ และการรักษา

เมื่ออายุมากขึ้น เราทุกคนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไปได้ และ ’กระดูก’ คือหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่มักจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา นำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งถ้าไม่ดูแลและรักษาโรคกระดูกพรุนอย่างเหมาะสม ก็อาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักได้ง่าย และเป็นอันตรายต่อผู้สูงวัยเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการรู้เท่าทันโรคกระดูกพรุน เรามีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค พร้อมอาการและวิธีรักษามาบอกกัน

รู้จักโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง และยังเกิดจากการที่โครงสร้างของกระดูกเสื่อมสภาพไปตามอายุขัยและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้กระดูกอ่อนแอ เสี่ยงต่อการแตกหักและการบาดเจ็บได้ง่าย โดยผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนนั้น จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุกระดูกหักได้มากกว่าคนทั่วไป แม้จะขยับร่างกายเพียงเล็กน้อย แน่นอนว่าเมื่อกระดูกแตกหัก ก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติอีกต่อไป ดังนั้น การเฝ้าระวังและรับมือกับโรคกระดูกพรุน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

  • อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง
  • ฮอร์โมนในร่างกายที่ลดลง
  • กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัวที่มีประวัติเคยเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต
  • การใช้ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์เร่งการสลายหรือรบกวนการสร้างมวลกระดูก เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก และการสูบบุหรี่จัด

อาการของโรคกระดูกพรุน

โดยทั่วไป โรคกระดูกพรุนคือโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ทำให้กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว ก็ต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกหักไปเรียบร้อยแล้ว แต่เราสามารถสังเกตความผิดปกติของร่างกายได้จากอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • หลังค่อม
  • ปวดร้าวตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • หากอาการรุนแรงมาก อาจสังเกตได้ว่าส่วนสูงเริ่มลดลง

4 วิธีป้องกันกระดูกพรุน

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว นม ปลาทะเล และธัญพืชต่าง ๆ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ และเดินบนลู่วิ่ง หลีกเลี่ยงการออกกำลังในท่าที่ผาดโผน หรือออกอย่างหักโหมจนเกินไป
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • เข้ารับการตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ เพื่อให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ทันท่วงที หากตรวจพบถึงความผิดปกติ

ชายสูงอายุหกล้มและเจ็บหัวเข่า

การรักษาโรคกระดูกพรุน

  • รักษาด้วยการใช้ยา
    ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ยายับยั้งการสลายกระดูก และยากระตุ้นการสร้างมวลกระดูกขึ้นมาใหม่ โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินการใช้ยา ร่วมกับการพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
  • รักษาด้วยการผ่าตัด
    การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีที่ใช้รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกหัก หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน

สำหรับผู้สูงวัยที่พบว่าตัวเองมีอาการปวดกระดูก หรือมีความผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาทางฟื้นฟูกระดูก และรักษาโรคกระดูกพรุนอย่างเหมาะสมต่อไป ที่โรงพยาบาสมิติเวชชลบุรี เรามีหมอกระดูกในชลบุรีที่มีความเชี่ยวชาญสูง พร้อมด้วยเครื่องมือที่ครบครัน เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

นัดหมายเพื่อพบแพทย์ได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ อาคาร B ชั้น 1 โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์ 033-038878

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. Osteoporosis. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2567 จาก
    https://www.niams.nih.gov/health-topics/osteoporosis#:~:text=Osteoporosis%20in%20Men-,Osteoporosis%20is%20a%20bone%20disease%20
    that%20develops%20when%20bone%20mineral,Pregnancy%2C%20Breastfeeding%2C%20and%20Bone%20Health




doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด
เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน_2

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม
อ่านต่อ