กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) 

(ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ) ผู้เขียนบทความ : นายแพทย์ ภาณุพันธ์ กระแสร์ชล

กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) 

กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) 

คือ การเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณคอที่มักพบในผู้สูงอายุ พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

สาเหตุของกระดูกคอเสื่อม

  • มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  • มีประวัติบาดเจ็บบริเวณคอ
  • มีการเคลื่อนไหวคอท่าเดิมซ้ำ ๆ ตลอด
  • มีแรงกดกดทับหรือใช้งานบริเวณคอบ่อย ๆ
  • มีการเกร็งคออยู่ในท่าทางเดิมหรือท่าผิดปกติ เป็นเวลานาน
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะกระดูกคอเสื่อม
  • สูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย

อาการของกระดูกคอเสื่อม

มักไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นชัดเจน อาการอื่นๆที่พบได้

  • ปวดบริเวณคอร้าวลงไปถึงไหล่หรือแขนได้
  • อาการคอแข็ง ขยับเคลื่อนไหวคอได้ไม่สะดวกเหมือนปกติ

หากปล่อยไว้จนเกิดการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท อาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น

อ่อนแรง ชาที่แขน ขา มือ หรือเท้า

  • เดินลำบาก
  • ควบคุมระบบขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะไม่ได้

การตรวจพิเศษ

  • การตรวจทางรังสี  การเอกซเรย์ การทำ MRI  Scan การทำ CT Scan บริเวณคอ อาจมีการฉีดสารย้อมสีเข้าไปในโพรงกระดูกไขสันหลัง

การรักษา

  • ผู้ป่วยที่มีอาการชาหรือปวดแต่เพียงอย่างเดียว มักให้การรักษาทางยา ได้แก่ NSAID, Analgesics, Muscle relaxant
  • การปรับเปลี่ยนกิจกรรม 4-6 สัปดาห์ตามปัญหาที่พบในแต่ละราย
  • กายภาพบำบัด
  • การผ่าตัดในรายที่มีการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท จนกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงดังนี้

  • มีอาการปวดร้าว  ชา อ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ
  •  เดินลำบากแขนขาไม่มีแรง
  • มีอาการปวดบริเวณต้นคอ โดยจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหว
  • ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

ในปัจจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อการดูแลผู้ป่วย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดบริเวณคอที่มีความเสี่ยงสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกชีวิตกลับมาเหมือนปกติอีกครั้ง





doctor icon
แนะนำแพทย์ ประจำศูนย์

icon-articleบทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด
เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน_2

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม
อ่านต่อ